เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [10. อานาปานสังยุต]
1. เอกธัมมวรรค 7. มหากัปปินสูตร

“อริฏฐะ อานาปานสติจะทำให้บริบูรณ์ได้โดยพิสดาร อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจ
เข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว ฯลฯ สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน
หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก
อริฏฐะ อานาปานสติจะทำให้บริบูรณ์ได้โดยพิสดาร อย่างนี้แล”

อริฏฐสูตรที่ 6 จบ

7. มหากัปปินสูตร
ว่าด้วยพระมหากัปปินะ

[983] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น ท่านพระมหากัปปินะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
ณ ที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระ
มหากัปปินะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ณ ที่ไม่ไกล แล้วรับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นกายของภิกษุ
นั้นไหวหรือเอนเอียงไหม”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลาใดข้าพระองค์ทั้งหลาย
เห็นท่านผู้มีอายุนั้นนั่งในท่ามกลางสงฆ์ หรือนั่งในที่สงัดตามลำพัง เวลานั้น
ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่เห็นกายของท่านผู้มีอายุนั้นไหวหรือเอนเอียง”
“ภิกษุทั้งหลาย การที่กายไม่ไหวหรือเอนเอียง หรือการที่จิตไม่ไหวหรือดิ้นรน
เพราะสมาธิใดที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว สมาธินั้นภิกษุนั้นได้ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
การที่กายไม่ไหวหรือเอนเอียง หรือการที่จิตไม่ไหวหรือดิ้นรน เพราะ
สมาธิอย่างไหนที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :459 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [10. อานาปานสังยุต]
1. เอกธัมมวรรค 8. ปทีโปปมสูตร

คือ การที่กายไม่ไหวหรือเอนเอียง หรือการที่จิตไม่ไหวหรือดิ้นรน เพราะ
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
เมื่ออานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว การที่กายไม่ไหว
หรือเอนเอียง หรือการที่จิตไม่ไหวหรือดิ้นรน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ฯลฯ
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า สำเหนียกว่าจะพิจารณา
เห็นความสละคืน หายใจออก
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้ การที่กายไม่ไหวหรือเอนเอียง หรือการที่จิตไม่ไหวหรือดิ้นรน เป็นอย่าง
นี้แล”

มหากัปปินสูตรที่ 7 จบ

8. ปทีโปปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยประทีป

[984] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว มี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผล
มาก มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจ
เข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว ฯลฯ สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน
หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้ จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :460 }